สอนควายไถนา
สู้วิกฤติโลกร้อน , มปป. ระบุว่า ปัจจุบัน ชาวนาใช้ควายไถนาน้อยลงเป็นอย่างมาก
ควายที่ไถนาเป็นเหลือเพียง
0.41% ของจำนวนประชากรควายทั้งหมด
ภาครัฐและเอกชนเริ่มมีการตื่นตัวในการอนุรักษ์พันธุ์ควายและรื้อฟื้นภูมิปัญญาพื้นบ้านในการไถนามากขึ้น
โดยมีการจัดตั้งโครงการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์ควายในทุกภูมิภาค
และมีการก่อตั้งโรงเรียนเพื่อสอนและเผยแพร่ภูมิปัญญาในการใช้ควายไถนา
รวมไปถึงภูมิปัญญาอื่นๆที่เกี่ยวกับการทำนาและการเป็นอยู่อย่างพอเพียงจากการสนับสนุนของทั้งภาครัฐและเอกชน
ทำให้เกิดโครงการต่างๆเพื่อการอนุรักษ์ควายและภูมิปัญญาในการใช้ควายไถนาเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงรวมทั้งสภาวะโลกร้อนที่ประชาชนทั่วโลกต่างพากันตื่นตัวหาวิธีการแก้ไข
ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ช่วยผลักดันให้ชาวนาและเกษตรกรไทยหันกลับมาสนใจศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมและนำมาปรับใช้ให้ทันกับยุคสมัยและเทคโนโลยีในปัจจุบัน
การอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในเรื่องควายจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการสนับสนุนให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปในอนาคตโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์
ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิปัญญาในการใช้ควายไถนามีมากมายหลายโครงการ
เช่น
โครงการธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกร
โรงเรียนกาสรกสิวิทย์
จ.สระแก้ว (โครงการในมูลนิธิชัยพัฒนา)
โครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนา
ตามพระราชดำริ
โรงเรียนสอนกระบือเพื่อใช้งาน
จ. มหาสารคาม
โครงการรวมใจภักดิ์อนุรักษ์ควายไทย
จ.มุกดาหาร
ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาควายไทย
จ. ชลบุรี (โครงการในเครือเจริญโภคภัณฑ์)
บ้านอนุรักษ์ควายไทย
จ. สุพรรณบุรี
วีดีโอ
อ้างอิง
อนุรักษ์ควายไทย , มปป.
ลักษณะการอนุรักษ์ควายในสังคมไทย(ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.pxsupply.org/ลักษณะทั่วไปของควาย.
[22 พฤศจิกายน 2556].