วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การอนุรักษ์ควายในสังคมไทย


การอนุรักษ์ควายในสังคมไทย
                สอนควายไถนา สู้วิกฤติโลกร้อน , มปป. ระบุว่า  ปัจจุบัน ชาวนาใช้ควายไถนาน้อยลงเป็นอย่างมาก
ควายที่ไถนาเป็นเหลือเพียง 0.41% ของจำนวนประชากรควายทั้งหมด ภาครัฐและเอกชนเริ่มมีการตื่นตัวในการอนุรักษ์พันธุ์ควายและรื้อฟื้นภูมิปัญญาพื้นบ้านในการไถนามากขึ้น โดยมีการจัดตั้งโครงการสนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์ควายในทุกภูมิภาค และมีการก่อตั้งโรงเรียนเพื่อสอนและเผยแพร่ภูมิปัญญาในการใช้ควายไถนา รวมไปถึงภูมิปัญญาอื่นๆที่เกี่ยวกับการทำนาและการเป็นอยู่อย่างพอเพียงจากการสนับสนุนของทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้เกิดโครงการต่างๆเพื่อการอนุรักษ์ควายและภูมิปัญญาในการใช้ควายไถนาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงรวมทั้งสภาวะโลกร้อนที่ประชาชนทั่วโลกต่างพากันตื่นตัวหาวิธีการแก้ไข ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ช่วยผลักดันให้ชาวนาและเกษตรกรไทยหันกลับมาสนใจศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมและนำมาปรับใช้ให้ทันกับยุคสมัยและเทคโนโลยีในปัจจุบัน การอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านในเรื่องควายจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการสนับสนุนให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไปในอนาคตโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาภูมิปัญญาในการใช้ควายไถนามีมากมายหลายโครงการ
เช่น
โครงการธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกร
โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จ.สระแก้ว (โครงการในมูลนิธิชัยพัฒนา)
โครงการพลิกฟื้นธนาคารควายไถนา ตามพระราชดำริ
โรงเรียนสอนกระบือเพื่อใช้งาน จ. มหาสารคาม
โครงการรวมใจภักดิ์อนุรักษ์ควายไทย จ.มุกดาหาร
ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาควายไทย จ. ชลบุรี (โครงการในเครือเจริญโภคภัณฑ์)
บ้านอนุรักษ์ควายไทย จ. สุพรรณบุรี

วีดีโอ



อ้างอิง
                อนุรักษ์ควายไทย , มปป. ลักษณะการอนุรักษ์ควายในสังคมไทย(ออนไลน์). สืบค้นจาก  http://www.pxsupply.org/ลักษณะทั่วไปของควาย. [22 พฤศจิกายน 2556].



ลักษณะของควายที่เหมาะสมในการไถนา


ลักษณะของควายที่เหมาะสมในการไถนา
อนุรักษ์ควายไทย , มปป. ระบุว่า
1. ลำตัว ควายดีควรมีลำตัวใหญ่และยาว ขาแข็งแรงทั้ง 4 ขา และได้สัดส่วนเหมาะสมกับลำตัว
2. ส่วนหัว ควายใช้งานควรมีหน้าค่อนข้างยาว
3. ตา แจ่มใส เบ้าตาใหญ่และแข็งแรง ไม่มีจุดฝ้าและสีผิดปกติ
4. จมูก รูจมูกใหญ่ จมูกชุ่มชื้นอยู่เสมอ
5. เขา นิยมควายเขากรอบหรือเขาโง้ง คล้ายวงพระจันทร์ มีขนาดสวยงาม โคนมเขาใหญ่แข็งแรง ปลายเขาเรียว
6. คอ อวบใหญ่หนาบึกบึน
7. ขา โคนขาใหญ่ ค่อย ๆ เรียวลงสู่ปลายเท้าถึงกีบ
8. กีบ ต้องมีอุ้มกีบใหญ่
9. อก ใหญ่หรือที่เรียกว่ากะโหลกมะพร้าว
10. หลัง แบนและกว้าง สันหลังนูนแหลมเป็นสันเป็นลักษณะไม่ดี
11. ท้อง เหมาะสมกับลำตัว ไม่กางหรือบวมโตจนเกินไป
12. ผิวหนังบางและอ่อนนุ่ม เชื่อว่าส่อลักษณะว่านอนสอนง่าย แต่บางคนชอบหนังหนาเชื่อว่าเลี้ยงง่าย โตเร็ว
13. สีผิวหนัง ชอบสีดำมากกว่าสีเทา เชื่อว่าควายดำทำงานทนกว่า
14. ขน ยาวและดก เชื่อว่าโตเร็ว ทนโรค
15. หาง คอกยาวเลยข้อขาหลังลงมา ขนหางเป็นพู่ใหญ่ โคนหางใหญ่และเรียวลงสู่ปลายทาง
16. ฟัน เชื่อว่าควายฟันขาวเติบโตและสุขภาพดีกว่าควายฟันเหลือง
17. ขวัญ เกษตรกรยังเชื่อเรื่องขวัญมาก ในบางท้องที่จะไม่ยอมซื้อควายที่มีขวัญไม่ดีเข้าบ้าน ควายทุกตัวจะมีอย่างน้อย 1 ขวัญ และมีมากที่สุดเท่าที่พบคือ 9 ขวัญ แต่ชาวนาไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าควายมีขวัญทั้งหมด 32 ขวัญ
17.1 ขวัญดี ได้แก่ ขวัญก้อนชางแก้วคือ ขวัญสามเส้าบริเวณหน้า
ขวัญหนึ่งบริเวณหน้า สองขวัญอยู่สองด้านของดั้งจมูก ฃ
ขวัญกางหบอยู่บริเวณหนอก ขวัญห้อยหิ่งอยู่ตรงกลางด้านล่างของคอ
ขวัญอกแตกอยู่ด้านบนของลำคอ

17.2 ขวัญไม่ดี ได้แก่ ขวัญนั่งทับหรือ ขวัญที่นั่งโจรอยู่ประมาณด้านหน้าหรือกลางหลัง
ขวัญกระทาบหน้าอยู่ด้านข้างของลำตัวส่วนหน้า
ขวัญกระทาบหลังอยู่สองข้างของสวาบ
และ ขวัญลึงค์จ้ำหรือ ขวัญลึงค์ฟักอยู่ด้านหน้าของอวัยวะเพศผู้


อ้างอิง

                อนุรักษ์ควายไทย , มปป. ลักษณะของควายที่เหมาะสมในการไถนา(ออนไลน์). สืบค้นจาก  http://www.pxsupply.org/ลักษณะทั่วไปของควาย. [22 พฤศจิกายน 2556].

พันธุ์ควายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย


พันธุ์ควายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย
                อนุรักษ์ควายไทย , มปป. ระบุว่า
ควายไทย
เป็นควายปลักมีนิสัยชอบนอนแช่ปลักเกษตรกรส่วนใหญ่คุ้นเคยกับควายไทยดีอยู่แล้ว
ลักษณะประจำพันธุ์ : ควายไทยมีรูปร่างล่ำสัน บึกบึน ลำตัวสั้น ท้องใหญ่ หน้าสั้น หน้าผากแผนราบตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอค่อนข้างยาว หัวไหล่และอกนูนเด่นชัด บั้นท้ายหักลงมา มีสีเทาเข้มเกือบดำ และสีเผือก
ควายพันธุ์มูร่าห์
แหล่งกำเนิด : มีแหล่งกำเนิดจากประเทศอินเดีย กรมปศุสัตว์ได้จัดซื้อมาเลี้ยงขยายพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521
ลักษณะประจำพันธุ์ : จัดเป็นประเภทควายแม่น้ำเนื่องจากชอบน้ำสะอาดไม่ชอบลงโคลน ลักษณะทั่วไปเป็นควายตัวใหญ่มีสีดำ หน้าผากนูน เขาสั้นและบิดม้วนงอ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนักประมาณ 550 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 450 กิโลกรัม เมื่อแรกเกิดน้ำหนักประมาณ 30-35 กิโลกรัม ควายพันธุ์นี้เป็นหนุ่มสาวเต็มที่เมื่ออายุ 2 ปีครึ่งถึง 3 ปี แม่ควายให้ลูกตัวแรกอายุประมาณ 3 ปี ถึง 3 ปีครึ่ง ระยะอุ้มท้องสั้นกว่าควายไทย คือ ประมาณ 304 ถึง 312 วัน มีความสามารถให้น้ำนม 1,300 – 2,300 ลิตร ให้นมได้นาน 8 – 10 เดือน ควายพันธุ์นี้ชอบน้ำสะอาดและชอบอาบน้ำทุกวันไม่เหมาะที่จะใช้ไถนา ต้องเลี้ยงดูและให้อาหารดีกว่าควายไทย
ควายลูกผสม
ลักษณะประจำพันธุ์ : ควายลูกผสมระหว่างควายไทย กับ ควายมูร่าห์ จะมีลักษณะทั้งสองพันธุ์ผสมกัน จะมัลักษณะขายาวแต่ลำตัวไม่หนาทึบเหมือนควายมูร่าห์ หัวมีลักษณะไปทางพันธุ์มูร่าห์หน้าผากไม่ค่อยนูนเด่น เขามีความยาวระหว่างทั้งสองพันธุ์และบิดเพียงเล็กน้อย เต้านมจะดีกว่าควายไทย ใช้งานได้ดีเช่นเดียวกับควายไทย ควายลูกผสมเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าควายไทยตัวผู้จะหนักประมาณ 730 – 800 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 630 – 650 กิโลกรัม




อ้างอิง

                อนุรักษ์ควายไทย , มปป. พันธุ์ควายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย (ออนไลน์). สืบค้นจาก  http://www.pxsupply.org/ลักษณะทั่วไปของควาย. [22 พฤศจิกายน 2556].

สายพันธุ์


สายพันธุ์
                อนุรักษ์ควายไทย , มปป. ระบุว่า  แยกได้เป็นสองกลุ่มคือควายป่า และควายบ้าน และควายบ้านนั้นก็แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ควายปลัก (Swamp buffalo) ควายแม่น้ำ (River buffalo) ทั้งสองชนิดจัดอยู่ในวงศ์ และ สกุล เดียวกันคือ Bubalus bubalis แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง อย่างเห็นได้ชัดเจน จากการศึกษาทางด้านชีวภาพโมเลกุลพบว่า ควายปลักมีจำนวนโครโมโซม 24 คู่ ส่วนควายแม่น้ำจะจำนวนโครโมโซม 25 คู่ และสามารถผสมข้ามพันธุ์ระหว่างทั้งสองชนิดนี้ได้

พันธุ์ของควายบ้านมี 2 พันธุ์ ได้แก่


        1. ควายปลัก

เลี้ยงกันในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อกระบืออายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร ชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัดเจน

ควายปลักชนิดนี้จะเลี้ยงกันในประเทศต่างๆ ทางตะวันออกไกลซึ่งได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาวเป็นต้น  แต่เดิมในสมัยก่อนที่ยังไม่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม ควายชนิดนี้จะเลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อควายอายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร

สำหรับลักษณะทั่วไปของควายปลักไทยส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว ควายชนิดนี้ จะชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี (chevlon) หัวไหล่และอกนูนเห็นชัด



         2. ควายแม่น้ำ

ควายชนิดนี้พบในประเทศ อินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก เป็นควายที่ให้นมมากและมีลักษณะเป็นควายนมเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม ควายประเภทนี้จะไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด ควายแม่น้ำจะมีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ พันธุ์นิลิ ราวี พันธุ์เมซานี พันธุ์เซอติ และพันธุ์เมดิเตอเรเนียน เป็นต้นควายประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่กว่าควายปลัก



อ้างอิง

                อนุรักษ์ควายไทย , มปป. สายพันธุ์(ออนไลน์). สืบค้นจาก  http://www.pxsupply.org/ลักษณะทั่วไปของควาย. [22 พฤศจิกายน 2556].

ลักษณะทั่วไปของควาย


ลักษณะทั่วไปของควาย
                อนุรักษ์ควายไทย , มปป. ระบุว่า  ควาย หรือภาษาทางการว่า กระบือ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับงานเกษตรกรรมของประเทศทางเอเซียมากที่สุด[ต้องการอ้างอิง] เพราะชาวนานิยมเลี้ยงควายเป็นแรงงานเพื่อไว้ไถนา บ้างก็ใช้ควายเป็นพาหนะเข้าไปทำไร่ทำนา บ้างก็ฆ่าควายกินเนื้อเป็นอาหาร ควายจึงมีประโยชน์หลายประการ ปัจจุบันมีการใช้งานควายน้อยลง
               

อ้างอิง
                อนุรักษ์ควายไทย , มปป. ลักษณะทั่วไปของควาย(ออนไลน์). สืบค้นจาก  http://www.pxsupply.org/ลักษณะทั่วไปของควาย. [22 พฤศจิกายน 2556].