วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะของควายที่เหมาะสมในการไถนา


ลักษณะของควายที่เหมาะสมในการไถนา
อนุรักษ์ควายไทย , มปป. ระบุว่า
1. ลำตัว ควายดีควรมีลำตัวใหญ่และยาว ขาแข็งแรงทั้ง 4 ขา และได้สัดส่วนเหมาะสมกับลำตัว
2. ส่วนหัว ควายใช้งานควรมีหน้าค่อนข้างยาว
3. ตา แจ่มใส เบ้าตาใหญ่และแข็งแรง ไม่มีจุดฝ้าและสีผิดปกติ
4. จมูก รูจมูกใหญ่ จมูกชุ่มชื้นอยู่เสมอ
5. เขา นิยมควายเขากรอบหรือเขาโง้ง คล้ายวงพระจันทร์ มีขนาดสวยงาม โคนมเขาใหญ่แข็งแรง ปลายเขาเรียว
6. คอ อวบใหญ่หนาบึกบึน
7. ขา โคนขาใหญ่ ค่อย ๆ เรียวลงสู่ปลายเท้าถึงกีบ
8. กีบ ต้องมีอุ้มกีบใหญ่
9. อก ใหญ่หรือที่เรียกว่ากะโหลกมะพร้าว
10. หลัง แบนและกว้าง สันหลังนูนแหลมเป็นสันเป็นลักษณะไม่ดี
11. ท้อง เหมาะสมกับลำตัว ไม่กางหรือบวมโตจนเกินไป
12. ผิวหนังบางและอ่อนนุ่ม เชื่อว่าส่อลักษณะว่านอนสอนง่าย แต่บางคนชอบหนังหนาเชื่อว่าเลี้ยงง่าย โตเร็ว
13. สีผิวหนัง ชอบสีดำมากกว่าสีเทา เชื่อว่าควายดำทำงานทนกว่า
14. ขน ยาวและดก เชื่อว่าโตเร็ว ทนโรค
15. หาง คอกยาวเลยข้อขาหลังลงมา ขนหางเป็นพู่ใหญ่ โคนหางใหญ่และเรียวลงสู่ปลายทาง
16. ฟัน เชื่อว่าควายฟันขาวเติบโตและสุขภาพดีกว่าควายฟันเหลือง
17. ขวัญ เกษตรกรยังเชื่อเรื่องขวัญมาก ในบางท้องที่จะไม่ยอมซื้อควายที่มีขวัญไม่ดีเข้าบ้าน ควายทุกตัวจะมีอย่างน้อย 1 ขวัญ และมีมากที่สุดเท่าที่พบคือ 9 ขวัญ แต่ชาวนาไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าควายมีขวัญทั้งหมด 32 ขวัญ
17.1 ขวัญดี ได้แก่ ขวัญก้อนชางแก้วคือ ขวัญสามเส้าบริเวณหน้า
ขวัญหนึ่งบริเวณหน้า สองขวัญอยู่สองด้านของดั้งจมูก ฃ
ขวัญกางหบอยู่บริเวณหนอก ขวัญห้อยหิ่งอยู่ตรงกลางด้านล่างของคอ
ขวัญอกแตกอยู่ด้านบนของลำคอ

17.2 ขวัญไม่ดี ได้แก่ ขวัญนั่งทับหรือ ขวัญที่นั่งโจรอยู่ประมาณด้านหน้าหรือกลางหลัง
ขวัญกระทาบหน้าอยู่ด้านข้างของลำตัวส่วนหน้า
ขวัญกระทาบหลังอยู่สองข้างของสวาบ
และ ขวัญลึงค์จ้ำหรือ ขวัญลึงค์ฟักอยู่ด้านหน้าของอวัยวะเพศผู้


อ้างอิง

                อนุรักษ์ควายไทย , มปป. ลักษณะของควายที่เหมาะสมในการไถนา(ออนไลน์). สืบค้นจาก  http://www.pxsupply.org/ลักษณะทั่วไปของควาย. [22 พฤศจิกายน 2556].

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น